คุยกันฉันท์มิตร


เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นับเป็นโอกาสดีที่ทีมงานพลัง+งาน ได้ไปเยี่ยมเยือนประเทศญี่ปุ่น เพื่อเรียนรู้วิธีการแสวงหาความมั่นคงด้านพลังงาน หลังประสบวิกฤตแผ่นดินไหวและการเกิดอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูคุชิมะ จนเป็นเหตุให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องประกาศปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งสิ้น 59 โรง ลงชั่วคราว เพื่อตรวจสอบระบบความปลอดภัยครั้งใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องเริ่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าชนิดอื่นๆ อย่างเต็มที่ ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นอย่างมหาศาล
ดังนั้นในระยะยาว รัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่นในญี่ปุ่นจึงต้องหาทางเลือกด้านพลังงาน ที่มั่นคงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาพลังงานหมุนเวียน และหนึ่งในนั้นคือ การใช้ขุมพลังใต้บ้าน หรือพลังงานความร้อนใต้พิภพ!! มาผลิตไฟฟ้า


ในที่สุด แผนพีดีพี2010 ก็มีอายุสั้นไปตามที่เคยคาดไว้ หากนับจากวันที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 แผนพีดีพีที่มีอายุประมาณหนึ่งปี ก็กำลังจะถูกปรับปรุงใหม่ เหตุผลสำคัญที่รัฐบาลมักจะตอบเรื่องความจำเป็นในการปรับแผนพีดีพี 2010 คือ อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้จำเป็นต้องมีการชะลอโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไปอีก 3 ปี จึงต้องมาปรับแผนพีดีพีกัน

จากเดิมที่น้ำท่วมเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะคนเมือง แต่จากมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์น้ำท่วมกลายเป็นความเสี่ยงภัยที่ใกล้ตัวคนไทยทุกคนมากกว่าที่คาดคิดไว้ ดังนั้น การเตรียมตัวของครัวเรือนเพื่อรับภัยน้ำท่วมจึงกลายเป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับคนไทย ผู้เขียนจึงรวบรวมประสบการณ์การรับมือน้ำท่วมของตนเอง บวกกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากข่าวสารมากมายในช่วงน้ำท่วม มาเป็นแนวทางและขั้นตอนของครอบครัวในการรับมืออุทกภัย

เคยลองคิดเล่นๆ กันหรือเปล่าคะ...
วันนี้มีตัวอย่างการคิดเล่นๆ ที่น่าสนับสนุนให้เกิดการทำแบบจริงๆจังๆ ซะเหลือเกิน และคงต้องขอยกความดีความชอบให้นิตยสาร a day ที่ทำคอลัมน์ “ขอเปลี่ยน” เพื่อเปิดพื้นทีให้ผู้อ่านส่งไอเดียเจ๋งๆ คิดแบบทีเล่นทีจริง เปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างที่รู้สึกว่าไม่เข้าที อยากให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือออกแบบใหม่ ไอเดียแบบทีเล่นทีจริงก็อาจจะเกิดประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้คนและสังคมได้

“ขับรถตรงมาเรื่อยๆ จะมีโลตัสอยู่ทางด้านขวามือ ตรงมาไม่ต้องขึ้นสะพานไปนครชัยศรีนะครับ จากนั้นจะเห็นป้ายสีเบเยอร์ แล้วกลับรถ จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าซอย แล้วค่อยโทรหาผมอีกที...” เจ้าของเสียงทีปลายสาย คอยบอกทางอย่างชัดเจน เป็นช่วงๆ เพื่อป้องกันการหลงทาง....

ผมขอแสดงความเสียใจกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากอุทกภัย เฮอริเคน วาตภัย ดินถล่ม ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้และรวมไปถึง เหตุการณ์แผ่นดินไหว หรือ ซึนามิที่เพิ่งพาดผ่านไปเมื่อไม่นานนี้ นับว่าเป็นความสะเทือนใจ ซึ่งรู้สึกว่าจะมีถี่ขึ้นในช่วงหลังๆนี้....... ของเมืองไทย และของโลก

จากกิจกรรมเล็กๆ ในชั่วโมงเรียนของเด็กๆ โรงเรียนเทศบาล ๑ บางมูลนาก สถานศึกษาระดับประถม ขนาดกะทัดรัด 156 คน แห่งอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ที่ได้ปลูกฝังนักเรียนตัวน้อย ให้รู้ค่าของ “ขยะ” ของที่ใครๆ ก็เบือนหน้าหนี ให้กลายมาเป็นของมีค่า จนเด็กๆ อดใจไม่ได้ที่จะต้องนำขยะติดไม้ติดมือจากบ้าน มาโรงเรียนด้วย เพื่อแปลงเป็นเงินฝากของตัวเองใน “ธนาคารขยะ”

สัปดาห์ที่แล้ว ผมได้รับคำถามจากน้องๆ ชั้นม.5 โรงเรียน รุ่งอรุณ เพราะน้องๆ ได้ลงพื้นที่ภาคตะวันออก แล้วเห็นชาวบ้านคัดค้านการขยายตัวของพื้นที่อุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งน้องๆ เองก็เข้าใจความรู้สึกของชาวบ้าน แต่น้องๆ ก็ยังสงสัยว่าแล้วประเทศไทยจำเป็นต้องมีอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่? ถ้าไม่ สินค้าทั้งหลายที่น้องๆ ใช้กันอยู่จะมาจากไหน? แล้วถ้าจะต้องมีอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมควรจะอยู่ที่ใด? และควรมีมากน้อยเพียงใด?